ธาตุอาหาร

ธาตุอาหารพืช คือ    ในอดีต การปลูกพืชเพียงเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการอาชีพเหมือนเช่นปัจจุบัน ซึ่งในอดีตเพียงแค่รดน้ำพรวนดิน ก็ได้ผลผลิตเพียงพอแล้ว แต่ปัจจุบันหากทำเหมือนเช่นอดีต คงไม่ได้ผลผลิตใดๆเลย เพราะธาตุอาหารในดินที่จำเป็นต่อพืชนั้น ได้ถูกพืชใช้ดูดกินจนหมดแล้ว จึงจำเป็นต้องเติมธาตุอาหารลงไปในดิน เพื่อให้พืชเจริญเติบโตสร้างผลผลิต ซึ่งก็คือปุ๋ยนั้นเอง

  แต่การใส่ปุ๋ยให้กับพืชนั้น เกษตรกรยังเข้าใจว่า เพียงเติมแค่ธาตุอาหารพืชหลัก NPK ก็เพียงพอ แต่ความเป็นจริงยังมีธาตุอาหารพืชอีกมากที่พืชต้องการ และมีส่วนช่วยให้ผลผลิตที่ได้รับออกมาดีมีคุณภาพ ดังนั้นการเติมธาตุอาหารให้กับพืชจึงควรเติมให้ครบถ้วน ตามปริมาณที่พืชต้องการ

   ธาตุอาหารพืช ที่พืชต้องการมีมากมาย แต่ที่จำเป็นและขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้เลยมีทั้งหมด 16 ธาตุ พืชต้องการในปริมาณที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น

   ธาตุอาหารพืชที่ได้จากธรรมชาติ(อากาศและน้ำ) มี 3 ธาตุ ได้แก่
1. ไฮโดรเจน (Hidrogen : H)
2. คาร์บอน (Cabon : C)
3. ออกซิเจน (Oxigen : O)

นอกนั้นพืชจะได้รับจากดิน โดยการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน มี 13 ธาตุ แบ่งเป็น

   ธาตุอาหารพืชหลัก มี 3 ธาตุ คือ
1. ไนโตรเจน (Nitrogen : N)
2. ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P)
3. โปตัสเซียม (Potassium : K)
พืชต้องการเพื่อการพัฒนาระบบราก ลำต้น ใบ ดอกและผล    

   ธาตุอาหารพืชรอง มี 3 ธาตุ คือ
1. แคลเซียม (Calcium : Ca)
2. แมกนีเซียม (Magnesium : Mg)
3. กำมะถัน (Sulphur : S)
พืชต้องการเพื่อการพัฒนาสีสรร รสและกลิ่นหอม    

   ธาตุอาหารพืชเสริม มี 7 ธาตุ คือ
1. เหล็ก (Ferrus : Fe)
2. แมงกานีส (Manganese : Mn)
3. สังกะสี (Zinc : Zn)
4. ทองแดง (Copper : Cu)
5. โบรอน (Boron : Bo)
6. โมลิดีนั่ม (Molybdenum : Mo)
7. คลอรีน (Chlorine : Cl)
พืชต้องการเพื่อการเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรค    

    ปุ๋ยอินทรีย์เคมีของเรายังได้เพิ่มสารพิเศษอื่นๆอีก เช่น
อินทรียวัตถุ (Organic Matter : OM)
ฮิวมัส (Humus)
ซิลิกอน (Silicon : Si)
โซเดียม (Sodium : Na)
ซิลเวอร์ (Silver : Ag)
อะลูมินั่ม (Aluminum : Al)
อาหารของจุลินทรีย์ชนิดดี
สารที่เป็นสูตรพิเศษเฉพาะอีกมาก
พืชต้องการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง สมบูรณ์เต็มที่ ทนทานต่อสิ่งแวดล้อม ร้อน-หนาว-แล้ง-น้ำท่วม ทนต่อโรคและแมลง และช่วยให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น    

ซึ่งธาตุทั้งหมดมีความสำคัญ พืชต้องการในปริมาณที่แตกต่างกัน แต่จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้

รายละเอียด ประโยชน์ของธาตุอาหารพืช
            ในปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยอินทรีย์ 
 1. ไนโตรเจน (Nitrogen : N) ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณที่มาก และมีบทบาทมากที่สุดต่อการเจริญเติบโตของพืช และการผลิตอาหารของพืช เพราะธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของสารประกอบหลายอย่าง เช่น กรดอะมิโน ( Amino acid) เอนไซม์ ( Enzyme) นิวคลีโอโปรตีน ( Nucleoprotein) คลอโรฟิลล์ ( Chlorophyll) วิตามิน ( Vitamin) และอดิโนซีนไตรฟอสเฟท ( APT) เป็นต้น

    หน้าที่ของธาตุไนโตรเจน คือ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต โดยธาตุไนโตรเจนช่วยกระตุ้นให้พืชแบ่งเซลล์มากขึ้น กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเสริมสร้างส่วนต่างๆ ของพืช สร้างสีเขียวของคลอโรฟิล ทำให้ใบใหญ่ มีสีเขียวเข้ม แตกพุ่มมีกิ่งมาก ควบคุมการออกดอกออกผล เร่งการขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิต เพิ่มปริมาณโปรตีนในพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะพืชที่ใช้ ใบ ผล เมล็ด

    ถ้าพืชขาดธาตุไนโตรเจน จะทำให้พืชเกิดการชะงักการเจริญเติบโต หรือโตช้ามาก ลำต้นผอมสูง กิ่งก้านลีบเล็ก และมีจำนวนน้อย การแตกยอดและกิ่งก้านช้ามาก ใบมีสีเหลือง โดยเริ่มจากปลายไปโคนใบ และเกิดกับใบแก่อ่อน ได้ผลผลิตต่ำ ปริมาณและคุณภาพไม่ดี แต่ถ้าพืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้พืชมุ่งสร้างแต่ ยอด กิ่ง และลำต้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้แก่ช้า ลำต้นอ่อน เปราะ อวบน้ำ ล้มง่าย ความต้านทานโรคลดลง ออกผลน้อยลง คุณภาพของเมล็ด ผล และใบ ลดลง

อาการขาดธาตุไนโตรเจนในข้าว (ภาพข้อมูล:กรมการข้าว)
 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

แปลงที่ไม่ได้ใส่ไนโตรเจน ซึ่งข้าวมีสีเขียวอ่อน ลักษณะใบข้าวที่ขาดไนโตรเจน (ซ้ายมือ) ซึ่งใบจะเล็กกว่าและสีอ่อนกว่าใบข้าวที่ได้รับไนโตรเจนพอเพียง

    2. ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) ธาตุฟอสฟอรัสในดิน พืชจะนำไปใช้ได้น้อยเมื่อเทียบกับ ธาตุไนโตรเจน และธาตุโพแทสเซียม เพราะว่าธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปของสารประกอบ ที่ไม่ละลายน้ำ ธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบของสารที่สำคัญในพืชหลายชนิด เช่น ฟอสโฟไลปิด ( Phospholipids) เป็นแหล่งพลังงานของพืช สารเอทีพี ( ATP) ช่วยเคลื่อนย้ายพลังงานในพืช นิวคลีโอโปรตีน ( Nucleoprotein) และกรดนิวคลีอิค ( Nucleic acid) เป็นต้น

    ธาตุฟอสฟอรัสมีประโยชน์ในการเร่งการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากขยายยืด ส่งเสริมการเจริญของรากฝอยและรากแขนง ทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค ช่วยการออกดอกและสร้างเมล็ดต้นอ่อน ช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างแป้งและน้ำตาล ช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียม และโมลิบดินัม ได้ดีขึ้น

    ถ้าพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส รากจะผอม บาง สั้น และมีจำนวนน้อย ต้นแคระแกรน การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก ใบแก่จะเปลี่ยนสี ออกดอกช้า มีขนาดเล็ก และจำนวนลดลง ถ้าไม่มีธาตุฟอสฟอรัสพืชจะสร้างธาตุไนโตรเจนไม่ได้ ดังนั้นอาการขาดธาตุฟอสฟอรัสจะคล้ายคลึงกับการขาดธาตุไนโตรเจน

อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสในข้าว (ภาพข้อมูล:กรมการข้าว)
 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

ข้าวที่ไม่ได้ใส่ฟอสเฟต (ขวามือ) จะแตกกอน้อยกว่าข้าวปกติ ต้นข้าวแคระแกรน ต้นเล็กเรียวและตั้งตรงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ

 3. โปตัสเซียม (Potassium : K) ธาตุโปตัสเซียม เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อเข้าไปอยู่ในพืชจะไม่เปลี่ยนเป็นสารอินทรีย์เหมือนธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม และธาตุแมกนีเซียม แต่อยู่ในรูปของเกลืออินทรีย์ หรือเกลืออนินทรีย์ที่ละลายน้ำได้

     ธาตุโปตัสเซียมมีประโยชน์ในการทำให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานโรคได้ดี ควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างในพืช ช่วยในกระบวนการแบ่งเซลล์ และมีบทบาทในระบบหายใจ ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้าย สร้างสะสมแป้ง น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน โดยเฉพาะในพืชหัว ไม้ผล และพืชที่ให้แป้ง น้ำตาล เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ช่วยทำให้ผลไม้มีรสชาติดี หวานขึ้น สีสวย เนื้อเยื่อของผลไม้มีคุณภาพ ผิวสวย และสามารถเก็บผลผลิตได้นานวัน

    ถ้าพืชขาดธาตุโปตัสเซียม พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นอ่อน ล้มง่าย ไม่ต้านทานโรค ขอบใบไหม้ มีสีน้ำตาล ลุกลามเข้ามากลางใบเป็นรูปตัววี ผลเล็ก เมล็ดเหี่ยว ลีบ คุณภาพของพืชน้ำมัน และพืชหัวลดลง

อาการขาดธาตุโพแทสเซียมในข้าว (ภาพข้อมูล:กรมการข้าว)
 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

ขอบใบเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาล

 

 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

โพแทสเซียมเป็นตัวจำกัดการเจริญของข้าวแม้ว่าจะมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสพอเพียง

 

 

ปุ๋ย

ปุ๋ย

 

จุดสีน้ำตาลบนใบที่เขียวเข้ม

   

 4. แคลเซียม (Calcium : Ca) ธาตุแคลเซียมมีประโยชน์ ช่วยให้พืชนำไนโตรเจนมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ช่วยปรับสภาพความสมดุลของฮอร์โมนพืช เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ในรูปของ แคลเซียมเปคเตต ( Calcium pectate) ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม ( Chromosome) ส่งเสริมการเกิดปมที่รากถั่ว ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละออง เกสรตัวผู้ ( Pollen) ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่างๆ เช่น กรดออกซาลิก เปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต

    ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนมีลักษณะผิดปกติ ยอดกุด ใบมีสีเหลืองซีด และเล็กลง ระบบรากไม่เจริญเท่าที่ควร โครงสร้างลำต้นอ่อนแอ หักล้มง่าย ตาและยอดอ่อนแห้งตาย พืชออกดอกเร็วเกินไป ใบที่อยู่ชั้นในสุดรวมตัวติดกัน ทำให้แมลง เข้าไปอาศัยและทำลายพืชได้

 5. แมกนีเซียม (Magnesium : Mg) ธาตุแมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ธาตุแมกนีเซียมช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคลอโรฟิลล์จึงมีส่วนในการสังเคราะห์แสง และการสังเคราะห์โปรตีน

    ธาตุแมกนีเซียมมีประโยชน์ เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลด์ เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ เช่นเอนไซม์ที่เปลี่ยนสารคาร์โบไฮเดรท คือ คาร์บอกซีเลส ( Carboxylase) ช่วยในการดูดธาตุฟอสฟอรัส ช่วยสังเคราะห์น้ำมันร่วมกับธาตุกำมะถัน ควบคุมปริมาณแคลเซียม และช่วยการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช ช่วยสร้างรงควัตถุ ( Pigments) และสารสีเขียว

    ถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียม ลำต้น กิ่ง อ่อนแอ เปราะและหักง่าย ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบยังเขียว อัตราการเจริญเติบโตลดลง การป้องกันและแก้ไขการขาดแมกนีเซียมสามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ

อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในข้าว
 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

ใบมีสีเหลืองในพื้นที่ระหว่างเส้นใบ เกิดกับใบแก่ก่อน ใบธงอาจมีสีเหลืองด้วยเช่นกัน การขาดแมกนีเซียมอาจเกิดได้ เมื่อใส่โพแทซในดินที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ

  6. กำมะถัน (Sulphur : S) ธาตุกำมะถัน หรือธาตุซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนและโคเอนไซม์ ที่ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์โปรตีน ช่วยในกระบวนการหายใจของพืชเพื่อการสร้างพลังงาน ช่วยให้พืชปรุงอาหารและผลิตน้ำมัน โดยเฉพาะพืชที่มีน้ำมันไม่ควรขาดธาตุกำมะถัน ช่วยการเจริญเติบโตของราก ควบคุมการทำงานของแคลเซียม ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์และช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง

    ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถัน หรือธาตุซัลเฟอร์ ธาตุกำมะถันไม่ค่อยเคลื่อนย้ายในพืช ทำให้อาการขาดเกิดกับใบอ่อนก่อนคือ มีขนาดเล็กและสีเหลืองซีด พืชที่ขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการคล้ายกับการขาดไนโตรเจน ต่างกันตรงที่การขาดไนโตรเจนจะเกิดที่ใบแก่ก่อน แต่การขาดกำมะถันจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแล้วตามด้วยใบแก่ โดยเริ่มแรกที่กาบใบจะมีสีเหลืองแล้วลุกลามสู่ใบ

อาการขาดธาตุกำมะถันในข้าว
 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

ใบอ่อนของต้นข้าวมีสีเหลืองซีด ความสูงและการแตกกอลดลง

 

 

ปุ๋ย

 

ปุ๋ย

ใบอ่อนของข้าวมีสีออกเหลืองเพราะมีคลอโรฟิลล์ต่ำ ปลายใบมีสีออกขาว

   

 7. เหล็ก (Ferrus : Fe) ธาตุเหล็กเป็นธาตุที่ช่วยกระตุ้นการหายใจ และการปรุงอาหาร ช่วยดูดธาตุอาหารอื่น ช่วยสร้างโปรตีน ส่งเสริมให้เกิดปมถั่ว นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์สำหรับสร้าง chlorophyll, ไซโตโครม ( Cytochrome) ในไมโตคอนเตีย ( Mitochondia)

    ถ้าพืชขาดธาตุเหล็ก จะทำให้พืชขาดคลอโรฟิลล์ ใบจะมีสีเหลือง ส่วนเส้นใบยังเขียวอยู่หรือใบมีจุดสี น้ำตาล และเกิดการชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้าได้รับมากเกินก็จะเกิดธาตุเหล็กเป็นพิษได้(Iron toxicity)

  อาการเหล็กเป็นพิษในข้าวเหล็กเป็นพิษทำให้ขาดโพแทสเซียมด้วย ซึ่งใบจะมีสีน้ำตาลอมส้ม (ซ้ายมือ)

  

 8. แมงกานีส (Manganese : Mn) ธาตุแมงกานีส เป็นธาตุที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการ การหายใจของพืช ควบคุมการทำงานเมตาบอลิซึมของธาตุเหล็กและธาตุไนโตรเจน และช่วยในการสร้างเอนไซม์หลายชนิด เช่น ออซิเดส ( Oxidase) เปอร์ออกซิเดส ( Peroxidase) และดีไฮโดรจิเนส ( Dehydrogenase)

    ถ้าพืชขาดธาตุแมงกานีส ใบอ่อนมีสีเหลืองซีด หรือเป็นจุดแต่เส้น ใบยังมีสีเขียว ใบอ่อนเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ เช่น เทา ส้ม เหลือง ใบอ้อย เรียกว่า สตรีคดีซีส ( Streak disease) ใบข้าว เรียกว่า เกรย์สเปค ( Grey pec) ในถั่ว เรียกว่า มาร์บสปอร์ต ( Marsh spot) แตกพุ่มน้อย เจริญเติบโตช้าไม่ออกดอก

 9. สังกะสี (Zinc : Zn) ธาตุสังกะสี เป็นธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโตของตา ยอด ยืดข้อปล้อง ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมน โปรตีนและคลอโรฟิลล์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ( Cell membrane) และเอนไซม์คาร์บอนิค แอนไฮเดรต ( Carbonic anhydrase) แอลกอฮอลส์ ดีไฮโดรจีเนส ( Alcoholic dehydrogenase) ช่วยส่งเสริมธาตุฟอสฟอรัสธาตุไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์มากขึ้น มีส่วนในการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและ เสริมสร้างให้พืชเติบโตเป็นปกติ มีผลต่อการแก่และการสุกของพืช

    ถ้าพืชขาดธาตุสังกะสี การยืดของต้นเกิดขึ้นช้า ทำให้พืชแคระ แกรน ข้อสั้น เช่น โรคโรเซทติง ( Rosetting) ในข้าวโพด มียอดขาว ข้อสั้น เป็นพุ่ม ใบเกิดเป็นทางขาว ๆ ( White bud) มักแสดงที่ ใบที่ 2 หรือ ใบที่ 3 ของใบแก่ ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลงทำให้พืชไม่ออกผล

 10. ทองแดง (Copper : Cu) ธาตุทองแดง เป็นธาตุที่ช่วยในสร้าง และป้องกันความเสียหายของคลอโรฟิลล์ ช่วยให้พืชดูดธาตุเหล็กได้ดีขึ้น เป็นองค์ประกอบของโปรตีน และเอนไซม์ กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ช่วยในการหายใจและการสังเคราะห์แสง มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของรากและ มีความสำคัญมากในช่วงออกดอก ช่วยในการเมตาโบลิซึมของไขมัน

    ถ้าพืชขาดธาตุทองแดง ใบอ่อนมีสีเข้มในตอนแรก ต่อไปจะแห้งตายในที่สุด ลำต้นมีปล้องสั้นผิดปกติ พืชชงักการเจริญเติบโต

 11. โบรอน (Boron : Bo) โบรอนมีบทบาทในการช่วยกระตุ้นการสร้างคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์ และย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตในพืช ช่วยในการลำเลียงน้ำตาลในพืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จำเป็นสำหรับการงอกของหลอดละอองเกสรตัวผู้ในช่วงการผสมเกสร จำเป็นในการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะบริเวณปลายยอดและปลายราก เกี่ยวข้องกับการดูดธาตุแคลเซียมของรากพืช ดังนั้นโบรอนเป็นธาตุอาหารที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อาการเจริญเติบโต โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน การขาดธาตุโบรอนของปาล์มน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ และค่อนข้างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

 12. โมลิดีนั่ม (Molybdenum : Mo) ช่วยการทำงานของไนโตรเจน ทำให้พืชสมบูรณ์มากขึ้น

 13. คลอรีน (Chlorine : Cl) ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง ควบคุมความสมดุลของประจุในเซลล์

 14. อินทรียวัตถุ (Organic Matter : OM) จะช่วยตรึงธาตุอาหารพืชเอาไว้ และจะค่อยๆปลดปล่อยให้พืชได้กิน อย่างเต็มที่และยาวนาน ไม่เกิดการสูญเสีย และจะช่วยฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพให้ดีขึ้น ปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย นุ่ม ไม่แข็ง ไม่ร้อน การอุ้มน้ำ การไหลซึมน้ำ และการถ่ายเทอากาศดีขึ้น ทำให้รากพืชสามารถออกไปหาสารอาหารได้ง่าย ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน

 15. ฮิวมัส (Humus) ช่วยทำให้คุณสมบัติของดินดี เหมาะแก่การปรุงอาหารของพืชให้สมบูรณ์ ช่วยปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุยลดปัญหาดินแข็ง ดินเสื่อมสภาพ ดินเป็นกรดจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพิ่มค่า CEC การแลกประจุของดิน ทำให้ดินดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น และปลดปล่อยปุ๋ยและธาตุอาหารที่ตกค้างในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ พืชนำไปใช้ได้ง่ายอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เร่งการขยายตัวของจุลินทรีย์ ลดความเครียดของพืชเนื่องจากธาตุอาหารไม่สมดุล แร่ธาตุเป็นพิษ ร้อนจัดหนาวจัด ช่วยเพิ่มอัตราการงอก การเจริญเติบโตของราก ลำต้น ดอก และผล

 16. ซิลิกอน (Silicon : Si) ธาตุซิลิกอน เป็นธาตุที่จำเป็นในการพัฒนาใบ รากและลำต้นที่แข็งแรง ช่วยลดการคายน้ำของพืช ทำให้สามารถทนแล้ง เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ช่วยให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรง ช่วยให้พืชต้านทานโรค แมลงและปลวกดีขึ้น ช่วยการแตกราก ข้าวที่ได้รับซิลิกอนพอเพียงจะมีใบและลำต้นตั้ง ทำให้การสังเคราะห์แสงดีขึ้น

อาการขาดธาตุซิลิกอนในข้าว
   
ในต้นที่ขาดซิลิกอน (ซ้ายมือ) ใบข้าวจะโน้มลงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ (ขวามือ) จุดสีน้ำตาลบนใบข้าวเป็นอาการหนึ่งของข้าวที่ขาดซิลิกอน

 17. โซเดียม (Sodium : Na) ทำให้การปรุงอาหารของพืชสมบูรณ์

 18. ซิลเวอร์ (Silver : Ag) ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช หนุนการทำงานของไนโตรเจน

 19. อะลูมินั่ม (Aluminum : Al) ช่วยกระตุ้นให้พืชนำแมกนิเซียมไปใช้

    การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี จึงเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่สุดสำหรับการเพาะปลูก เพราะปุ๋ยอินทรีย์เคมี ผลิตขึ้นโดยเน้นให้มีสารอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารพืชหลัก ธาตุอาหารพืชรอง และธาตุอาหารพืชเสริม(จุลธาตุ) นอกจากนี้ยังมีสารอาหารพิเศษที่เป็นสูตรเฉพาะของปุ๋ยเราเท่านั้น นอกจากสารอาหารที่ครบถ้วนแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์เคมียังช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้ดึขึ้นอีกด้วย

การจะเลือกใช้ปุ๋ยประเภทใด ก็ขอให้พิจารณา ตัดสินใจเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด

ใส่ความเห็น